วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การออกแบบจัดสวน (Garden Design)
เป็นการสร้างงานศิลปะ สำหรับผู้ที่เก็บออมซื้อบ้านสักหลัง ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ จะเป็นทาวเฮาส์ หรือคอนโดมิเนียมกลางกรุง ก็เป็นบ้านสำหรับความภูมิใจของ แต่ละคนเป็นสวรรค์ สำหรับการพักผ่อน พื้นที่เล็กๆ สำหรับการจัดสวน จะด้านหน้าหรือด้านข้างของ ตัวบ้านเป็นส่วนที่สร้างความสัมพันธ์กับ จิตใจของผู้อยู่อาศัย จึงนับได้ว่ามีความสำคัญ เป็นสิ่งซึ่งไม่ควรมองข้าม...
เป็นการสร้างงานศิลปะ สำหรับผู้ที่เก็บออมซื้อบ้านสักหลัง ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ จะเป็นทาวเฮาส์ หรือคอนโดมิเนียมกลางกรุง ก็เป็นบ้านสำหรับความภูมิใจของ แต่ละคนเป็นสวรรค์ สำหรับการพักผ่อน พื้นที่เล็กๆ สำหรับการจัดสวน จะด้านหน้าหรือด้านข้างของ ตัวบ้านเป็นส่วนที่สร้างความสัมพันธ์กับ จิตใจของผู้อยู่อาศัย จึงนับได้ว่ามีความสำคัญ เป็นสิ่งซึ่งไม่ควรมองข้าม...
วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บ้านดิน เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สมัยนี้การจะมีบ้านสักหลังต้องใช้ทุนสูงมาก “บ้านดิน” จึงกลายเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีเงินทุนไม่มาก แต่มีกำลังพอที่จะสร้างบ้านด้วยตัวเอง พิชิต ชูมณี หรือ พี่เอ นวัตกรสังคมจากโครงการการศึกษาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยสถาบันพระปกเกล้า ภายใต้การสนับสนุนของ กฟผ. เป็นอีกหนึ่งคนที่ลงมือลงแรงปลูกบ้านดินขึ้นเอง และยังเปิดบ้านที่ ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสอนและถ่ายทอดวิธีการทำบ้านดินให้กับผู้สนใจอีกด้วย ขั้นตอนที่ยากและใช้เวลานานที่สุดในการทำบ้านดิน คือการเตรียมอิฐ เริ่มจากการผสมดินกับใยปาล์มซึ่งเป็นเส้นใยที่ยาวและเหนียว ช่วยให้เกาะตัว ยึดประสานกับดินได้ดีกว่าแกลบ และยังทำให้บ้านคงทนกว่าด้วย แต่ข้อเสียของการใช้ใยปาล์มก็คือจะไม่สามารถใช้เท้าย่ำได้ เพราะใยปาล์มจะมีความคม ถ้าเหยียบลงไปจะทำให้บาดเท้า สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย ซึ่งจะทำให้ผลิตได้ในปริมาณที่มากกว่า และยังช่วยให้อิฐแข็งแรงคงทนมากกว่าด้วย หลังผสมดินกับใยปาล์มเสร็จเรียบร้อย ให้เอามาเทลงในบล็อก ขนาด 20x40x7.5 ซม. อิฐที่ได้แต่ละก้อนจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 6 กิโลกรัม นำอิฐมาตากแดด 7 วันก็นำไปใช้งานได้ ส่วนขั้นตอนของการทำฐานรากให้ใช้ปูนกับคอนกรีตหล่อฐาน การก่ออิฐดิน จะใช้อิฐประมาณ 40 ก้อน ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เสร็จแล้วค่อยทำการเคลือบฉาบสี โดยการนำเอาดินมาบดให้ละเอียด (ถ้าต้องการสีแดงก็ให้ใช้ดินสีแดง ถ้าต้องการสีขาวก็ให้ใช้ดินขาว) มาผสมกับกาวลาเท็กซ์หรือแป้งมันสำปะหลัง การเคลือบสีตามแนวธรรมชาติแบบนี้ จะทำให้ได้บ้านที่ดูแล้วสวยคลาสสิก ไม่แปลกปลอม กลมกลืนกับธรรมชาติ ดูมีเสน่ห์ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ข้อดีของบ้านดินก็คือ ต้นทุนในการก่อสร้างต่ำ แต่มีความแข็งแรง ทนต่อแรง กระแทกได้ดีกว่าบ้านปูน เพราะมีความยืดหยุ่นกว่า โดนค้อนทุบไม่แตกกระจาย โดนฝนก็ไม่เป็นไร ที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และยังช่วยปรับสภาพอากาศได้อีกด้วย ถ้าอากาศภายนอกร้อน บ้านดินจะทำให้รู้สึกเย็น ถ้าอากาศภายนอกเย็น บ้านดินก็จะทำให้รู้สึกอบอุ่น นอกจากนี้วัตถุดิบยังสามารถหาได้จากธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถใช้วัสดุทดแทนจากใยปาล์มเป็นหญ้าแฝก หญ้าคา หรือแกลบก็ได้ ช่วยให้ทุกคนได้มีบ้านสวยอยู่ได้ในราคาไม่แพง ปัญหาของบ้านดินมีน้อยมาก และสามารถแก้ไขได้ไม่ยาก อาทิ หากมือไม่นิ่ง ไปคุ้ยแคะแกะเกาหรือเอาไม้เอาเหล็กไปขีดข่วน เอามีดไปกรีดผนังบ้าน จะก่อให้เกิดรอยถลอก ทำให้น้ำอาจซึมเข้าไปได้ วิธีแก้คือเคลือบทาสีใหม่ ทาพื้นผิวให้เรียบสนิท จนน้ำกลิ้งลงไป ไม่เกาะติดตามรอยแตก แต่ถ้าเจอกรณีที่มีรูเยอะ แก้ไขด้วยการเอาดินผสมใยปาล์มลงไป แล้วเอาสีทาเคลือบลงไปใหม่ ก็จะได้ความ แข็งแรงกลับคืนมา สิ่งที่ควรระวังอีกอย่าง คือฤดูฝนความชื้นเยอะ ถ้าเคลือบบ้านดินไม่ดีพอ อาจเกิดเชื้อราเกาะได้ แก้ไขได้ด้วยการ เอาผ้าเช็ดเชื้อราออก แล้วเคลือบสีใหม่ตรงที่มีราขึ้น ข้อแนะนำสำหรับวิธีการบำรุงรักษาบ้านดินในพื้นที่ใกล้นาหรือแหล่งเพาะปลูกที่มีหนูและปลวกอาศัยอยู่จำนวนมาก คือต้องดูแลหนูให้ดี หนูนาชอบบ้านดินเพราะอุณหภูมิเหมาะกับการที่หนูจะขุดรูชั้นล่างเพื่อเข้าไปอยู่ วิธีรับมือที่ดีคือ ช่วงตีคานให้อัดยาฆ่าปลวกลงไป และหมั่นตรวจสอบ ถ้าเราอยู่บ้านทุกวันไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าทิ้งบ้านนาน ๆ เป็นเดือน ปลวก หนูและแมงมุม มักจะชอบเข้ามาอยู่ บ้านดินก็เหมือนบ้านทั่วไปที่ต้องการได้รับการดูแลใส่ใจเฉกเช่นเดียวกัน การก่อสร้างบ้านดินมีราคาต่ำกว่า การก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์ประมาณเกือบ 3 เท่า อย่ช่นรีสอร์ทที่ ต.ปกาสัย ที่กำลังก่อสร้างอยู่ มีขนาดพื้นที่หลังละ 12 ตารางเมตร มีห้องน้ำในตัว ราคาก่อสร้างบ้านดินตกหลังละ 7 หมื่นบาท รวมค่าแรงก่อสร้างแล้ว แต่ถ้าเป็นบ้านปูนซีเมนต์ขนาดเท่ากัน จะต้องเสียค่าก่อสร้างประมาณ 2 แสนบาท สำหรับบ้านตัวอย่างที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ก่อสร้างมาแล้ว นานกว่า 2 ปี พบว่าแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี ใช้กระเบื้องหนัก 2 ตัน (2,000 กก.) เหล็กใช้ถึง 2 ตัน รวมหลังคาบ้านดินหลังนี้มีน้ำหนักรวม 4 ตัน (4,000 กก.) จะเห็นได้ว่าบ้านดินสามารถรับน้ำหนักได้สบาย บ้านหลังนี้มีขนาดความกว้าง 25 ตารางเมตร แต่ตัดมุมให้เป็นทรงแปดเหลี่ยม ใช้งบประมาณทั้งหมด 80,000 บาท เป็นค่าหลังคาที่ซื้อเหล็กและกระเบื้อง 60,000 บาท และใช้ต้นทุนในการก่ออิฐทั้งหมด 20,000 บาท พิชิต กล่าวว่า “ความสำเร็จของการสร้างบ้านดินด้วยตนเอง เคล็ดลับอยู่ที่ความตั้งใจ บ้านดินเหมาะสำหรับพื้นดินที่แข็ง ไม่เหมาะกับพื้นที่มีน้ำเจิ่งนอง พื้นที่น้ำท่วมถึง พื้นที่ดินเหลวหรือดินอ่อน เพราะดินอาจจะพอง น้ำจะซึมได้ ถ้าเราสามารถทำบ้านดินขึ้นเองได้ จะทำให้เราได้คุณค่าชีวิตหลายอย่าง อาทิ เพิ่มพูนความรู้ เกิดความรู้สึกอยากศึกษา ค้นคว้า ทดลองทำในสิ่งใหม่ ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา และถ้าหากเราร่วมด้วยช่วยกันทั้งครอบครัว จะก่อให้เกิดสายใยรักและความผูกพันในครอบครัวที่ดี ทำให้เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้ พอทำไปเกิดปัญหา ก็จะหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ก่อให้เกิดทักษะ ฝึกสมอง และใจที่จดจ่อกับการก่ออิฐทีละก้อนทีละชั้น ทำให้เกิดสมาธิที่ดีต่อตัวเราอีกด้วย”.
วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การวางระบบท่อน้ำภายในบ้าน มีคนถามผมว่า เกี่ยวกับฮวงจุ้ยด้วยหรือเปล่า ความจริงแล้วเรื่องนี้ ถ้าเป็นสมัยก่อนจะให้ความสำคัญมาก จนมีข้อบัญญัติที่ว่า "น้ำดีเข้ามังกรเขียว น้ำเสียออกเสือขาว" ความหมายก็คือ ให้น้ำไหลเข้าบ้านทางด้านซ้าย (มังกร) เมื่อใช้สอยจนกลายเป็นน้ำเสียให้ไหลออกทางด้านขวา (เสือ) เพราะตำแหน่งมังกรในทางฮวงจุ้ย ถือเป็นตำแหน่งเปิดรับสิ่งดีๆเข้าสู่บ้าน และเป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าตำแหน่งเสือ โดยกฎเกณฑ์เรื่องเสือขาว-มังกรเขียว กำหนดเอาไว้ว่า ชัยภูมิด้านที่เป็นมังกรเขียว จะต้องสูงกว่าชัยภูมิด้านเสือขาว ซึ่งจะเข้ากับหลักธรรมชาติที่น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ต้นน้ำจะแทนความหมายของน้ำดี ส่วนปลายน้ำจะแทนความหมายของน้ำเสีย นั่นเอง เพราะฉะนั้น การวางระบบท่อน้ำภายในบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ย ก็ควรจะวางจุดเริ่มที่น้ำไหลเข้าสู่บ้าน ทางตำแหน่งมังกร หรือด้านซ้ายของบ้าน และจุดที่เป็นท่อน้ำทิ้ง น้ำเสีย ให้วางตำแหน่งท่อไว้ทางด้านขวาของบ้าน
การวางระบบท่อน้ำภายในบ้าน มีคนถามผมว่า เกี่ยวกับฮวงจุ้ยด้วยหรือเปล่า ความจริงแล้วเรื่องนี้ ถ้าเป็นสมัยก่อนจะให้ความสำคัญมาก จนมีข้อบัญญัติที่ว่า "น้ำดีเข้ามังกรเขียว น้ำเสียออกเสือขาว" ความหมายก็คือ ให้น้ำไหลเข้าบ้านทางด้านซ้าย (มังกร) เมื่อใช้สอยจนกลายเป็นน้ำเสียให้ไหลออกทางด้านขวา (เสือ) เพราะตำแหน่งมังกรในทางฮวงจุ้ย ถือเป็นตำแหน่งเปิดรับสิ่งดีๆเข้าสู่บ้าน และเป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าตำแหน่งเสือ โดยกฎเกณฑ์เรื่องเสือขาว-มังกรเขียว กำหนดเอาไว้ว่า ชัยภูมิด้านที่เป็นมังกรเขียว จะต้องสูงกว่าชัยภูมิด้านเสือขาว ซึ่งจะเข้ากับหลักธรรมชาติที่น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ต้นน้ำจะแทนความหมายของน้ำดี ส่วนปลายน้ำจะแทนความหมายของน้ำเสีย นั่นเอง เพราะฉะนั้น การวางระบบท่อน้ำภายในบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ย ก็ควรจะวางจุดเริ่มที่น้ำไหลเข้าสู่บ้าน ทางตำแหน่งมังกร หรือด้านซ้ายของบ้าน และจุดที่เป็นท่อน้ำทิ้ง น้ำเสีย ให้วางตำแหน่งท่อไว้ทางด้านขวาของบ้าน
การวางระบบท่อน้ำภายในบ้าน มีคนถามผมว่า เกี่ยวกับฮวงจุ้ยด้วยหรือเปล่า ความจริงแล้วเรื่องนี้ ถ้าเป็นสมัยก่อนจะให้ความสำคัญมาก จนมีข้อบัญญัติที่ว่า "น้ำดีเข้ามังกรเขียว น้ำเสียออกเสือขาว" ความหมายก็คือ ให้น้ำไหลเข้าบ้านทางด้านซ้าย (มังกร) เมื่อใช้สอยจนกลายเป็นน้ำเสียให้ไหลออกทางด้านขวา (เสือ) เพราะตำแหน่งมังกรในทางฮวงจุ้ย ถือเป็นตำแหน่งเปิดรับสิ่งดีๆเข้าสู่บ้าน และเป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าตำแหน่งเสือ โดยกฎเกณฑ์เรื่องเสือขาว-มังกรเขียว กำหนดเอาไว้ว่า ชัยภูมิด้านที่เป็นมังกรเขียว จะต้องสูงกว่าชัยภูมิด้านเสือขาว ซึ่งจะเข้ากับหลักธรรมชาติที่น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ต้นน้ำจะแทนความหมายของน้ำดี ส่วนปลายน้ำจะแทนความหมายของน้ำเสีย นั่นเอง เพราะฉะนั้น การวางระบบท่อน้ำภายในบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ย ก็ควรจะวางจุดเริ่มที่น้ำไหลเข้าสู่บ้าน ทางตำแหน่งมังกร หรือด้านซ้ายของบ้าน และจุดที่เป็นท่อน้ำทิ้ง น้ำเสีย ให้วางตำแหน่งท่อไว้ทางด้านขวาของบ้าน
วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ไอเดียที่ 1 ไม่กั้นก็ไม่แคบ สิ่งสำคัญในการจัดพื้นที่แคบคือพยายามสร้างความต่อเนื่องภายในพื้นที่ไว้ให้มากที่สุด ไม่ควรกั้นผนังทึบ เพราะจะยิ่งทำให้บ้านดูแคบลงไปอีก หากต้องการแบ่งพื้นที่ใช้งานภายในห้องควรกั้นผนังแบบโปร่ง โดยการทำชั้นวางของ ใช้ฉากหรือม่านที่เลื่อนปิดเปิดได้ เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน อีกวิธีหนึ่งคือการแบ่งพื้นที่ด้วยการเปลี่ยนสีหรือพื้นผิวของผนังและพื้น ซึ่งนอกจากจะช่วยแบ่งสัดส่วนของพื้นที่แล้ว ยังสามารถเปลี่ยนอารมณ์และเพิ่มมิติให้กับพื้นที่ได้อีกด้วย
ไอเดียที่ 2 หนึ่งชิ้นหลายหน้าที่เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบอเนกประสงค์แทนการใช้เฟอร์นิเจอร์หลายชิ้นให้เกะกะพื้นที่ และอีกวิธีหนึ่งคือการจัดวางตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์แบบธรรมดาให้ใช้งานได้หลากหลาย เช่น วางโต๊ะกลางในตำแหน่งที่เป็นได้ทั้งโต๊ะรับประทานอาหาร โต๊ะนั่งเล่น และโต๊ะทำงาน แล้วแต่การใช้งานในแต่ละโอกาสและช่วงเวลา
ไอเดียที่ 3 ปรับเปลี่ยนประหยัดที่ การใช้เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถยืด หด พับเก็บ หรือมีล้อเลื่อน จะช่วยประหยัดเนื้อที่ได้มาก เพราะทำให้ปรับเปลี่ยนได้ตามการใช้งานและเคลื่อนที่ไปใช้งานในส่วนต่างๆได้อย่างสะดวก เมื่อไม่ใช้งานก็นำไปเก็บได้โดยไม่เปลืองเนื้อที่ ถ้าหากเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเก็บแบบซ้อนชิ้นเล็กในชิ้นใหญ่ หรือถอดประกอบแยกส่วนได้ด้วยจะยิ่งช่วยประหยัดพื้นที่ได้มากขึ้นด้วย
ไอเดียที่ 4 บิลท์อินช่วยคุณได้แม้ว่าการทำเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินจะทำให้เสียพื้นที่ไปบางส่วน แต่ก็เป็นวิธีที่ดีในการจัดการกับพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดให้เป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการของคุณได้ดีกว่าการใช้เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว เพราะสามารถออกแบบให้มีขนาดพอดีกับข้าวของเครื่องใช้ และช่วยให้การเก็บของเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้นด้วย
ไอเดียที่ 5 ติดผนังเข้าไว้หากบ้านของคุณมีพื้นที่ไม่เพียงพอที่จะวางข้าวของที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ คุณสามารถเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้วยการใช้ประโยชน์จากที่ว่างทางแนวตั้ง ไม่ว่าจะทำชั้น หรือราว ที่สามารถยกข้าวของของคุณขึ้นจากพื้นไปลอยอยู่เหนือหัว หรือติดอยู่บนผนังให้มากที่สุด แล้วคุณจะพบว่าภายในบ้านยังเหลือพื้นที่ว่างให้ใช้ได้อีกมากมาย ตั้งแต่พื้นไปจนถึงฝ้าเพดาน
ไอเดียที่ 6 เทคนิคลวงตาใช้องค์ประกอบพื้นฐานในการออกแบบ เช่น เส้น สี แสง เงา และผิวสัมผัส มาตกแต่งบ้านเพื่อช่วยหลอกตาให้ดูกว้างขึ้น เช่น การใช้เส้นนอนเพื่อยืดให้ห้องดูยาวขึ้น การเปิดช่องแสงเพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอก การใช้วัสดุผิวมันวาว เช่น กระจกหรือสเตนเลส สร้างเงาสะท้อนเพิ่มมิติให้กับพื้นที่ การใช้เฟอร์นิเจอร์แบบโปร่งบาง ทำให้ห้องดูโล่ง ไม่ทึบตัน การใช้สีอ่อนๆหรือการจัดแสงไฟให้ห้องดูสว่างขึ้น และวิธีอื่นๆอีกมากมายที่สามารถมาประยุกต์ให้เข้ากับความต้องการใช้สอยและสไตล์การตกแต่งบ้านของคุณที่มา : เรื่อง : ดำรง ลี้ไวโรจน์ : ภาพประกอบ ::: แฟ้มภาพบ้านและสวน
วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเลือกใช้หน้าต่างไม้
การเลือกรูปแบบของหน้าต่างไม้ในการใช้งาน สามารถพิจารณาได้จากสภาพพื้นที่ที่จะใช้งานหน้าต่างไม้ โดยหากเป็นพื้นที่ที่ต้องการการระบายอากาศมาก ก็ควรเลือกหน้าต่างไม้แบบบานกว้างที่สามารถเปิดหน้าต่างไม้ออกได้เต็มที่ เพื่อให้มีการหมุนเวียนอากาศภายในห้องอย่างเพียงพอ นอกจากนี้หน้าต่างไม้แบบบานกว้างก็ยังเหมาะกับห้องที่ต้องการเปิดชมทัศนียภาพภายนอกมากๆ เพราะสามารถเปิดออกสู่ภายนอกได้เต็มที่โดยไม่มีสิ่งกีดขวางหรือบังสายตา ส่วนบริเวณที่ติดกับทางเดินหรือมีสิ่งกีดขวาง ก็อาจจะเลือกใช้หน้าต่างไม้แบบบานเลื่อนเพื่อความปลอดภัยและเป็นการประหยัดเนื้อที่ด้วย ส่วนห้องที่ต้องการการระบายอากาศแต่ไม่ต้องการทำหน้าต่างไม้แบบเปิดออกกว้างๆ ก็สามารถเลือกใช้หน้าต่างไม้แบบบานเกล็ด ซึ่งจะสามารถระบายอากาศหมุนเวียนภายในห้องได้ดีและยังประหยัดพื้นที่อีกด้วย สำหรับหน้าต่างไม้อีกแบบหนึ่งก็คือหน้าต่างไม้แบบบานกระทุ้ง ซึ่งจะเป็นหน้าต่างไม้ที่มีข้อดีคือ สามารถเปิดหน้าต่างไม้แบบบานกระทุ้งไว้ได้แม้ฝนตก เพราะน้ำฝนจะไม่สาดผ่านหน้าต่างไม้บานกระทุ้งเข้ามาภายในห้องได้
การเลือกรูปแบบของหน้าต่างไม้ในการใช้งาน สามารถพิจารณาได้จากสภาพพื้นที่ที่จะใช้งานหน้าต่างไม้ โดยหากเป็นพื้นที่ที่ต้องการการระบายอากาศมาก ก็ควรเลือกหน้าต่างไม้แบบบานกว้างที่สามารถเปิดหน้าต่างไม้ออกได้เต็มที่ เพื่อให้มีการหมุนเวียนอากาศภายในห้องอย่างเพียงพอ นอกจากนี้หน้าต่างไม้แบบบานกว้างก็ยังเหมาะกับห้องที่ต้องการเปิดชมทัศนียภาพภายนอกมากๆ เพราะสามารถเปิดออกสู่ภายนอกได้เต็มที่โดยไม่มีสิ่งกีดขวางหรือบังสายตา ส่วนบริเวณที่ติดกับทางเดินหรือมีสิ่งกีดขวาง ก็อาจจะเลือกใช้หน้าต่างไม้แบบบานเลื่อนเพื่อความปลอดภัยและเป็นการประหยัดเนื้อที่ด้วย ส่วนห้องที่ต้องการการระบายอากาศแต่ไม่ต้องการทำหน้าต่างไม้แบบเปิดออกกว้างๆ ก็สามารถเลือกใช้หน้าต่างไม้แบบบานเกล็ด ซึ่งจะสามารถระบายอากาศหมุนเวียนภายในห้องได้ดีและยังประหยัดพื้นที่อีกด้วย สำหรับหน้าต่างไม้อีกแบบหนึ่งก็คือหน้าต่างไม้แบบบานกระทุ้ง ซึ่งจะเป็นหน้าต่างไม้ที่มีข้อดีคือ สามารถเปิดหน้าต่างไม้แบบบานกระทุ้งไว้ได้แม้ฝนตก เพราะน้ำฝนจะไม่สาดผ่านหน้าต่างไม้บานกระทุ้งเข้ามาภายในห้องได้
วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การสร้างบ้าน การขอเลขประจำบ้าน และการรื้อถอนบ้าน
บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของคนเรา การมีบ้านเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มชีวิตใหม่ที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป ดังนั้นการปลูกสร้างบ้าน ที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ จึงเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดี และเสริมสร้างความดีงามแก่จิตใจ
ขั้นตอนในการปลูกสร้างบ้าน
ในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารหรือกฎหมายผังเมืองบ้าน หรืออาคารที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาต แบบแปลน เสียก่อน และจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้ โดยยื่นคำร้องได้ที้สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา และสำนักงานเขต หรือกรุงเทพมหานคร อำเภอ และสำนักงานสุขาภิบาล แล้วแต่กรณีบริเวณนอกเขตควบคุม บ้านหรืออาคารที่จะปลูกสร้างไม่ต้องขออนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย
การแจ้งการปลูกสร้างบ้าน และผู้มีหน้าที่รับแจ้งเ
มื่อปลูกสร้างบ้าน หรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ คือ นายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้าน
หนังสือหรือเอกสารการได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้าน หรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายผังเมือง)
สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้งกรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัวของผู้รับมอบ และหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย
หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี)
ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้าน ใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง
วิธีการรับแจ้ง
เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้าน ใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการในเรื่องการย้ายบุคคลเข้ามาอยุ่ในทะเบียนบ้านในโอกาสต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้านที่นายทะเบียนกำหนดให้นั้น ให้เจ้าบ้านไปจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้วบ้านซึ่งเห็นได้ชัดแจ้งการรื้อถอนบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้านเมื่อได้มีการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไปปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จ พร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หมายเหตุ : การแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
หมายเหตุ : การแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
โครงสร้างของหลังคานับว่าเป็นโครงสร้างส่วนที่สำคัญของบ้านอีกส่วนหนึ่งเช่นกัน เพราะหลังคา จะทำหน้าที่ คุ้มแดดคุ้มฝนให้แก่ตัวบ้านรวมทั้งผู้อยู่อาศัยด้วย เพราะเหตุว่าด้วยโครงสร้างหลังคา และตัวหลังคา เป็นส่วนที่อยู่ สูงสุดของตัวบ้าน ดังนั้นปัญหาเรื่องการรับน้ำหนักของตัวหลังคาจึงไม่ค่อยพบ แต่ที่พบ บ่อยจะเป็นปัญหาเรื่องการเกาะยึดของตัว หลังคาและโครงหลังคา มากกว่า เช่น เมื่อมีลมพายุพัดแรง ๆ หลังคา ที่สร้างไว้ไม่มั่นคง หรือมีการเกาะยึดไม่ดี ก็มีโอกาสจะปลิวหลุด หรือเกิดความเสียหาย ได้มากกว่า นอกจากนี้ ปัญหาที่ได้บ่อยอีกอย่างหนึ่งคือการแตกหรือรั่วของหลังคาปัญหาเหล่านี้มักมีสาเหตุมา จากวัสดุที่ใช้ทำ หลังคา หรือการขาดความประณีต ในการทำหลังคา เหตุเพราะว่าหลังคาเป็นส่วนที่อยู่สูงที่ สุดของตัวบ้าน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมัก มองไม่เห็น และทำการแก้ไขได้ยาก ฉะนั้นขั้นตอนการทำที่ประณีต และการควบคุมดูแลอย่างถูกต้องจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมาก
วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เรื่องที่ควรตรวจสอบก่อนซื้อบ้าน 6 ประการ
วงเงินการปล่อยกู้จากสถาบันการเงิน
ทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบระดับราคาบ้านที่จะสามารถซื้อได้โดยผู้ซื้อสามารถตรวจสอบได้ที่ฝ่ายให้บริการสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ หรือตามเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย หรือตามเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย หรือตามเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน ซึ่งโดยปกติสถาบันการเงินจะปล่อยกู้ประมาณ 25-30 เท่าของอัตราเงินเดือนผู้กู้ ในกรณีที่ผู้ซื้อมีผู้กู้ร่วมด้วยอัตราส่วนเพิ่มของวงเงินกู้ ก็จะเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเดือนของผู้กู้ร่วม ทั้งนี้สถาบันการเงินอาจจะพิจารณาปล่อยกู้เกินกว่าวงเงินขั้นต่ำที่กำหนด โดยพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบ เช่น อาชีพ ความมั่นคง ความก้าวหน้า ความสามารถในการผ่อนชำระ อาชีพเสริมที่รู้แหล่งที่มาของรายได้ เป็นต้น
ข้อมูลโครงการ
โดยแบ่งแยกตามทำเล ระดับราคา และประเภทที่อยู่อาศัยที่สนใจ จากสื่อสิ่งพิมพ์หรือเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย ทั้งนี้เพื่อประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดูโครงการจริง
ข้อมูลทางราชการเช่น
แนวเวนคืน โครงข่ายสาธารณูปโภค-สาธารณูปการที่มีอยู่ และจะเกิดขึ้นในอนาคตข้อมูลบางอย่างจะมีประโยชน์ต่อการอยู่อาศัย เช่น การก่อสร้างทางด่วน การตัดถนน เป็นต้น
ผังเมืองรวม
ควรหลีกเลี่ยงโครงการที่อยู่ในเขตผังเมืองประเภทพื้นที่อุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรม หรือที่พักอาศัยหนาแน่นมาก เพราะพื้นที่เหล่านี้จะเป็นเขตที่มีผู้คนอยู่หนาแน่น และมีกิจกรรมต่างๆ มากมายที่ทำให้เกิดมลภาวะ ปัญหาการจราจร ฯลฯ
สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น
เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ฯลฯ เพราะหากมีความจำเป็นต้องใช้บริการ จึงควรตรวจสอบระยะเวลา และความสะดวกในการเดินทาง
เส้นทางการเดินทาง และโครงข่ายการจราจร
เช่น ข้อมูลการเดินรถสาธารณะ เส้นทางรถโดยสารสาธารณะจำนวนสายเดินรถ ช่วงเวลาการให้บริการ โดยเฉพาะรถโดยสารประจำทางที่จำเป็นต้องใช้ประจำระหว่างบ้านกับที่ทำงาน และโรงเรียนลูกหรือข้อมูลทางด่วน ถนนซอยต่างๆ ปริมาณการจราจร จุดที่มีปัญหา และเส้นทางลัด เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
9 ขั้นตอนที่ควรรู้ในการทาสีบ้านใหม่
การรักษาบ้านให้ดูใหม่อยู่เสมอไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่รู้วิธีอย่างเช่น การเปลี่ยนสีสันของบ้านหรือเปลี่ยนเครื่องใช้เฟอร์นิเจอร์ ก็ทำให้บ้านดูสวยได้แล้ว เรามีคำแนะนำ 9 ข้อที่น่ารู้ในการทาสีให้ดูสดใสโดดเด่น...
1.เตรียมงบประมาณ อย่างแรกต้องคำนึงถึง เงิน ที่เราสามารถใช้จ่าย ว่าเรามีงบประมาณอยู่เท่าไหร่ซึ่งจะต้องรวมทั้งค่าสี ค่าช่างทาสี รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ
2.ถามผู้เชี่ยวชาญ ในการทาสีบ้านเราต้องรู้ว่าเราจะทาสีลงบนพื้นผิวประเภทใด ผิวปูนหรือผิวไม้ ใช้ทาสีภายในหรือภายนอก หากเราไม่แน่ใจว่าจะใช้ จะใช้สีอะไรดี ควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สถาปนิกหรือช่างทาสี ซึ่งจะมีคำแนะนำดีๆ ในการใช้สีให้ถูกประเภทและลักษณะการใช้งาน
3.เลือกสี เมื่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญจนแน่ใจในเรื่องการใช้สีให้ถูกต้องแล้ว เลือกสีที่ตัวเองชอบ ยิ่งเป็นสีทาภายในควรให้กลมกลืนกับขอบประตู-หน้าต่างและถ้าพื้นผิวภายนอกเป็นปูนควรเลือกใช้สีที่มีคุณภาพสูงที่สามารถยืดอายุการใช้งานให้นานปกป้องสีบ้านจากการซีดจางที่เกิดจากแสงแดด ทนทานต่อสภาวะอากาศต่อต้านการเกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ รวมทั้งไม่จับฝุ่นซึ่งจะทำความสะอาดได้ง่าย
4.เตรียมพื้นผิว ก่อนจะลงมือทาสี ควรทำความสะอาดฝุ่นละออง และใช้แปรงแซะสีเก่าที่หลุดลอกออก เช็ดให้สะอาดแล้วปล่อยให้แห้งสนิท การเตรียมพื้นผิวที่ถูกต้องจะช่วยให้สีที่ทาติดนานยิ่งขึ้น
5. ทาสีรองพื้น การทาสีรองพื้นก่อนจะช่วยยึดเกาะกับผนังได้ดีไม่หลุดออกง่ายๆ เลือกสีรองพื้นชนิดที่เหมาะสมกับสภาพพื้นผิว เพราะสีรองพื้นสำหรับพื้นที่ยังไม่เคยทาสีมาก่อน ควรใช้สีรองพื้นที่สามารถป้องกันด่างหรือการใช้สีรองพื้นสำหรับพื้นผิวเนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็งที่อาจมียางซึมออกมาได้ ควรทาสีรองพื้นที่สามารถกันยางและเชื้อรา
6. อุปกรณ์ทาสี แปรงทาสี และลูกกลิ้งมีความแตกต่างกัน แปรงทาสีสามารถเข้าได้ทุกซอกมุมของพื้นที่ที่ต้องการทา จึงเหมาะกับในกรณีที่เตรียมพื้นผิวแบบหยาบ ๆ หรือผิวที่ไม่เรียบ การใช้แปรงทาจะทำให้สีสัมผัสกับผิวผนังในซอกมุมต่างๆได้ดี ลูกกลิ้งเหมาะสำหรับการทาในพื้นที่กว้างๆ ซึ่งสามารถทำให้การทาสีทำได้เร็วกว่า แต่ลูกกลิ้งจะใช้ปริมาณมากกว่าการทาด้วยแปรง
7. อุปกรณ์จำเป็นอื่น ๆ สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือผ้าปูผื้นกันเปื้อนเพื่อป้องกันสีกระเด็นหรือตกหล่นพื้น บันได้สำหรับทาที่สูงและเพดาน ถาดผสมสี และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
8. เก็บรายละเอียด เมื่อทาเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบหาข้อบกพร่อง เช่น สีที่ทาอาจจะไม่สม่ำเสมอกัน หรือยังไม่ได้ทาในส่วนที่เป็นซอกเป็นมุม จากนั้นเก็บรายละเอียดของงานให้ละเอียดของงานให้เรียบร้อย เท่านี้ก็จะได้บ้านที่ดูใหม่ และสดใสขึ้นโดยไม่ต้องมีการตกแต่งอะไรให้สิ้นเปลือง
9. การเก็บรักษาสี หากใช้สีไม่หมดแต่เหลือจำนวนสีไม่มาก และอยากเก็บสีไว้ใช้ต่อครั้งหน้า ควรจะเทสีใส่กระป๋องที่มีขนาดเล็กปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันการแข็งตัวของสีบนพื้นผิว
วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สิ่งที่ควรรู้เมื่อคิดต่อเติมบ้าน
การต่อเติมบ้านอยู่อาศัยกับคนไทย เป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร เหตุเพราะชาวสยามเมืองยิ้มส่วนใหญ่ มีหัวคิดในเชิงสร้างสรรค์ติดตัว มาตั้งแต่อ้อนแต่ออกแทบทุกคน อีกประการพวกเราชาวขวานทอง นิยมชมชอบที่จะให้ลูกๆหลานๆพักรวมกันกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย อยู่ภายในบริเวณรั้วรอบเดียวกัน ส่งผลให้ต้องขยับขยายเนื้อที่บ้านเพิ่มขึ้นทุกระยะ ตามความเจริญเติบโตของสมาชิกในครอบครัว ว่ากันว่าหมู่บ้านจัดสรรที่เห็นผุดขึ้นที่โน่นที่นี่ไม่เว้นแต่ละวันนั้น ไม่ว่าจะตั้งอยู่ซอกมุมไหนของประไทย มีผู้คนช่างสังเกตเคยจัดทำสถิติเอาไว้ว่า จะมีการตกแต่งต่อเติมกว่า 300% แทบทุกโปรเจ็กต์ หรือจะว่าไปทุกๆหลังคาเรือนจะขยับขยายเนื่อที่เพิ่มอย่างน้อยๆสามครั้งสามครา
ครั้งที่หนึ่ง
"นับตั้งแต่วันแรกที่รับโอน จะทุบพื้นที่จอดรถ ขยายหลังคาเทพื้นใหม่ "
ครั้งที่สอง
"เมื่ออยู่ไปได้ซักระยะปีสองปี จะทำการว่าจ้างผู้รับเหมาต่อเติมห้องครัวออกไปทางด้านข้างๆ หรือ ด้านหลัง"
ครั้งที่สาม
" เมื่อบุตรหลานแต่งงานแต่งการพ่อแม่จะติดต่อสถาปนิกออกแบบห้องหอเพิ่มเป็นของขวัญ" นี่ยังไม่นับรวมกรณีอยู่ๆไปหัวหน้าครอบครัว หรือคนเฒ่าคนแก่ แข้งขาอ่อนแรงเดินขึ้นบันไดไม่ไม่ไหว จำต้องใช้พื้นที่ว่างๆ บริเวณชั้นล่างของบ้าน ตกแต่งดัดแปลงสำหรับเป็นที่หลับที่นอนเพิ่มขึ้นอีกห้อง ว่าก็ว่าเถอะ การต่อเติมทั้งสามครั้งสามคราส่วนใหญ่มักจะผิดกฎเทศบัญญัติแทบทั้งนั้น และไม่มีใครห้ามใครในเรื่องนี้ได้หรอกนะ เพราะเข้าตำรา
"ใช่เฉพาะเขาตัวเราก็เป็นเหมือนกัน" แม้คุณเองก็เหอะน่า เพียงทุกครั้งที่ทำการตกแต่งต่อเติมบ้าน โปรดคำนึงถึงกฎกติกามารยาทอย่างน้อยๆ 3 ประการ
หนึ่ง "ระเบียบเทศบัญญัติของรัฐ"
สอง "ธรรมนูญข้อบังคับของหมู่บ้าน และ หรือของคอนโดฯ ลอยฟ้า
" สาม " ความเดือดร้อนรำคาญของเพื่อนร่วมซอย" อย่างแรกโปรดระลึกเสมอว่า "กฎระเบียบเทศบัญญัติ" กองควบคุมอาคารเขากำหนดเรื่องการก่อสร้างและต่อเติม ทั้งบ้านเดี่ยว ทั้งบ้านแถวหรือทาวน์เฮ้าส์เอาไว้หลายรายการ
กรณีบ้านเดี่ยวชั้นเดียวหรือสองถึงสามชั้นจะต้องเป็นไปตามหลักสำคัญ 5-6 ประเด็น ดังต่อไปนี้ "จะต้องเว้นที่ว่าง 30%" " หน้าต่าง และริมระเบียง จะต้องห่างเขตที่ดินอย่างน้อยๆ 2 เมตร" ความสูงจะต้องไม่เกินสามชั้น และมีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร" " ต้องถอยร่นแนวจากศูนย์กลางถนนสาธารณะ 3 เมตร" "ต้องอยู่ห่างจากอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 4 เมตร (กรณีสูงไม่เกิน 9 เมตร) และ 6 เมตร (กรณีมีความสูงเกิน 9 เมตรขึ้นไป)" "ความสูงต่อชั้น 2.60 เมตร" สำหรับทาวน์เฮ้าส์และตึกแถวนั้น มีระเบียบกฎเกณฑ์ 6-7 ประเด็นเช่นกัน คือ " ต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคาร 2 เมตร ด้านหน้าอาคาร 3 เมตร และข้างอาคารทั้ง 2 ด้าน 2 เมตร" "จะต้องถอยร่นแนวอาคารจากศูนย์กลางสาธารณะ 6 เมตร" " กรณีไม่ติดถนนสาธารณะต้องมีที่ว่างหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร" "ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 ชั้น" มีความสูงต่อชั้น 2.60 เมตร" " ความกว้างของห้องนอนไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร หรือไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร ยาวไม่เกิน 24 เมตร" " ความกว้างของอาคารจะต้องไม่น้อยกว่า 4 เมตร และยาวไม่เกิน 24 เมตร และมีพื้นที่ชั้นล่างไม่น้อยกว่า 24 ตารางเมตร" สำหรับการคำนึงถึงระเบียบอย่างที่สองคือ " ธรรมนูญข้อบังคับของหมู่บ้านและคอนโดฯ" ซึ่งถือเป็นกฎระเบียบการอยู่อาศัยร่วมกันนั้น มีหลากหลายโครงการใคร โครงการมัน ส่วนใหญ่สาระสำคัญในประเด็นหลักๆ มักจะคล้ายกัน ผมจะหยิบยกตัวอย่างของโครงการหนึ่งให้ดู เขากำหนดกฎกติกา เมื่อบ้านหลังใดทำการตกแต่งต่อเติมเอาไว้อย่างงี้ครับ " ห้ามทำงานในวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์" "ห้ามทำงานก่อนเวลา 08.00 น. และหลังเวลา 17.00 น." "ห้ามคนงานพักอาศัยภายในบ้านที่มีการตกแต่งต่อเติม" " ห้ามวางวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและทำงานบริเวณถนนและทางเท้า" "ห้ามจอดรถบรรทุกวัสดุอุปกรณ์กีดขวางทางจราจร" " ห้ามนำเศษวัสดุก่อสร้างก่อสร้างและขยะกองทิ้งหรือพักรอบริเวณถนนและทางเท้า" " ห้ามตากเสื้อผ้าบนหรือนอกรั้วบ้าน" " ห้ามคนงานผู้รับเหมานำสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงที่ก่อความรำคาญมาเลี้ยงในหมู่บ้าน"และ "ห้ามคนงานของผู้รับเหมาดื่มสุราหรือของมึนเมาในบริเวณบ้านที่ตกแต่งต่อเติม"ฯลฯ ส่วนประการที่สาม คือ "ความเดือดร้อนรำคาญของเพื่อนร่วมซอย" ทุกครั้งที่ว่าจ้างผู้รับเหมาต่อเติมบ้าน โปรดคำนึงและดูแลควบคุมในปัญหาหลักๆ 2-3 ประเด็นต่อไปนี้
กรณีบ้านเดี่ยวชั้นเดียวหรือสองถึงสามชั้นจะต้องเป็นไปตามหลักสำคัญ 5-6 ประเด็น ดังต่อไปนี้ "จะต้องเว้นที่ว่าง 30%" " หน้าต่าง และริมระเบียง จะต้องห่างเขตที่ดินอย่างน้อยๆ 2 เมตร" ความสูงจะต้องไม่เกินสามชั้น และมีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร" " ต้องถอยร่นแนวจากศูนย์กลางถนนสาธารณะ 3 เมตร" "ต้องอยู่ห่างจากอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 4 เมตร (กรณีสูงไม่เกิน 9 เมตร) และ 6 เมตร (กรณีมีความสูงเกิน 9 เมตรขึ้นไป)" "ความสูงต่อชั้น 2.60 เมตร" สำหรับทาวน์เฮ้าส์และตึกแถวนั้น มีระเบียบกฎเกณฑ์ 6-7 ประเด็นเช่นกัน คือ " ต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคาร 2 เมตร ด้านหน้าอาคาร 3 เมตร และข้างอาคารทั้ง 2 ด้าน 2 เมตร" "จะต้องถอยร่นแนวอาคารจากศูนย์กลางสาธารณะ 6 เมตร" " กรณีไม่ติดถนนสาธารณะต้องมีที่ว่างหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร" "ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 ชั้น" มีความสูงต่อชั้น 2.60 เมตร" " ความกว้างของห้องนอนไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร หรือไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร ยาวไม่เกิน 24 เมตร" " ความกว้างของอาคารจะต้องไม่น้อยกว่า 4 เมตร และยาวไม่เกิน 24 เมตร และมีพื้นที่ชั้นล่างไม่น้อยกว่า 24 ตารางเมตร" สำหรับการคำนึงถึงระเบียบอย่างที่สองคือ " ธรรมนูญข้อบังคับของหมู่บ้านและคอนโดฯ" ซึ่งถือเป็นกฎระเบียบการอยู่อาศัยร่วมกันนั้น มีหลากหลายโครงการใคร โครงการมัน ส่วนใหญ่สาระสำคัญในประเด็นหลักๆ มักจะคล้ายกัน ผมจะหยิบยกตัวอย่างของโครงการหนึ่งให้ดู เขากำหนดกฎกติกา เมื่อบ้านหลังใดทำการตกแต่งต่อเติมเอาไว้อย่างงี้ครับ " ห้ามทำงานในวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์" "ห้ามทำงานก่อนเวลา 08.00 น. และหลังเวลา 17.00 น." "ห้ามคนงานพักอาศัยภายในบ้านที่มีการตกแต่งต่อเติม" " ห้ามวางวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและทำงานบริเวณถนนและทางเท้า" "ห้ามจอดรถบรรทุกวัสดุอุปกรณ์กีดขวางทางจราจร" " ห้ามนำเศษวัสดุก่อสร้างก่อสร้างและขยะกองทิ้งหรือพักรอบริเวณถนนและทางเท้า" " ห้ามตากเสื้อผ้าบนหรือนอกรั้วบ้าน" " ห้ามคนงานผู้รับเหมานำสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงที่ก่อความรำคาญมาเลี้ยงในหมู่บ้าน"และ "ห้ามคนงานของผู้รับเหมาดื่มสุราหรือของมึนเมาในบริเวณบ้านที่ตกแต่งต่อเติม"ฯลฯ ส่วนประการที่สาม คือ "ความเดือดร้อนรำคาญของเพื่อนร่วมซอย" ทุกครั้งที่ว่าจ้างผู้รับเหมาต่อเติมบ้าน โปรดคำนึงและดูแลควบคุมในปัญหาหลักๆ 2-3 ประเด็นต่อไปนี้
เรื่องแรก คือ "เสียง" การทุบ เจาะและไสไม้อย่าให้ดังเกินควร กรุณาหามาตรการการป้องกัน ประเด็นที่สอง "ความสะอาด" ทั้งฝุ่นและเศษวัสดุก่อสร้างจะต้องหาหนทางกำจัดมิให้ลอยคละคลุ้ง และหรือปลิวว่อนไปสู่บ้านใกล้เรือนเคียง และเรื่องที่สาม คือ "ตำแหน่งที่ตั้งวางอุปกรณ์ปลูกสร้าง" ประเภทอิฐ หิน ปูน และทราย ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรจะเทกองอยู่บนถนนหรือฟุตปาธทางเท้า เหมาะที่สุดต้องจัดเตรียมพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในบริเวณรั้วบ้านของเราเองเป็นที่วางตั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะถนนซอยส่วนใหญ่มักจะแคบๆ ขืนเอาวัสดุอุปกรณ์ไปกองไว้การนำรถราเข้าๆ ออกๆ ของเพื่อนบ้านจะไม่สะดวกเท่าที่ควร อีกอย่างอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กตัวเล็กๆ ที่กำลังอยู่ในวัยซุกซนอีกด้วย
เหอะ...แม้มาตรการป้องกันความเดือดร้อนรำคาญของเพื่อนร่วมซอย อันเนื่องมาจากการตกแต่งต่อเติมบ้านของเราไม่ได้มีบทบัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนทุกกรณี แต่ทางที่ถูกที่ควรก่อนตกลงมอบหมายให้ผู้รับเหมาลงมือดำเนินงาน ควรจะเดินไปเคาะประตูเพื่อนบ้านเพื่อบอกเล่าเก้าสิบให้รับรู้เสียก่อนจะเหมาะที่สุด จะบอกให้...โดยอุปนิสัยชาวสยามเมืองยิ้มล้วนมีจิตใจโอบอ้อมอารีแทบทุกคน ยิ่งกรณีบอกกล่าวล่วงหน้าเอาไว้เสียตั้งแต่ยังไม่เกิดเรื่องราว หนักนิดเบาหน่อยอภัยกันได้อยู่แล้ว ในบางประเทศเขาถือเป็นเรื่องใหญ่มีกฎหมายควบคุมเข้มงวดกวดขันและเอาจริงเอาจัง อย่างเช่นออสเตรเลียอย่าว่าแต่เฉพาะตกแต่งต่อเติมบ้านเลย แม้ตัดต้นไม้ในบริเวณรั้วบ้านยังต้องขออนุญาตต่อเทศบาล และขอประชามติเห็นชอบจากเพื่อนร่วมซอยเสียก่อนจึงจะตัดโค่นได้สักต้น บอกเล่าเก้าสิบให้รู้กันอย่างงี้แล้ว ใครยังขืนต่อเติมบ้านผิดกฎหมาย และหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้พักอาศัยข้างเคียงอยู่อีกล่ะก็ อาจจะถูกเพื่อนร่วมซอยฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายเอานะจะบอกให้
วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
มาคลายปัญหา และขจัดความยุ่งยากจากงานบ้านที่แสนจะจุกจิกด้วยเกร็ดความรู้เล็กๆน้อย กันเถอะ
1.การล้างตู้เย็น จะล้างตู้เย็นให้สะอาดให้ใช้โซดาคาร์บอเนต(โซดาทำขนม หรือ เบ็กกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ลงในน้ำประมาณ 1 ลิตร หรือ 4 ถ้วย แล้วล้างออก กลิ่นเหม็นจะหมดไป
2.การล้างจานหรืออ่างที่เป็นสแตนเลนส อ่างล้างจานหรือตู้เก็บถ้วยจานที่เป็นสแตนเลสให้ใช้แอลกอฮอล์หรือยาสีฟันทาแล้วจึงขัดออก ทำความสะอาดด้วยน้ำอีกครั้ง เช็ดด้วยผ้านุ่นๆ ให้แห้งทุกอย่างก็จะเงางามสดใสเหมือนใหม่
3.การล้างขวดแก้ว ขวดแก้วที่หมองขุ่น ให้ใส่ทรายลงไปเล็กน้อยเติมน้ำอย่าให้เต็ม เขย่าแรงๆ แล้วจึงเทออก ล้างด้วยน้ำผสมผงซักฟอก แล้วจึงล้างให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า ขวดจะใส
4.การล้างภาชนะที่เปื้อนแป้ง ไข่ หรือนม จาม ชาม หรือภาชนะที่เปื้อน แป้ง ไข่ หรือนม ให้ล้างด้วยน้ำเย็นธรรมดาจะล้างออกง่ายกว่าน้ำอุ่น เพราะน้ำอุ่นจะทำให้แป้ง ไข่ หรือนมติดแน่นยิ่งขึ้น เนื่องจากความร้อนทำให้แป้ง ไข่ หรือนมที่ติดอยู่กับภาชนะสุกทางที่ดีควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำเช็ดออกก่อนแล้วล้างด้วยสบู่หรือ น้ำยาล้างจาน จากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาด
5.การล้างถาดเงิน ถาดเงินเมื่อใช้แล้วต้องล้างให้สะอาดทันทีแล้วเช็ดให้แห้งก่อนนำไปเก็บ การเก็บรักษาเพื่อไม่ให้ถาดเงินเป็นรอยด่างดำ ให้วางสารส้มไว้ในถาดสัก 1 ก้อน จะทำให้ถาดนั้นสะอาด อยู่เสมอ
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วิธีการเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน
7 องค์ประกอบหลัก เลือกสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ (7 มี)
ในส่วนของผู้บริโภคเอง การสร้างบ้านหนึ่งหลังถือเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการตัดสินใจเลือกผู้ที่จะมาสร้างบ้านจึงต้องพิจารณากันค่อนข้างมาก เพื่อให้ได้บ้านที่ถูกใจมากที่สุด ส่วนขั้นตอนในการพิจารณานั้นก็ต้องมีความรอบคอบ และพิจารณาหลายๆ ส่วนประกอบกัน ซึ่งพบว่ามีองค์ประกอบสำคัญๆ ที่ผู้บริโภคควรพิจารณาในการเลือกผู้ประกอบการหรือบริษัทรับสร้างบ้านเพื่อให้ได้บ้านที่ถูกใจมีดังนี้
1. มีที่ตั้งขององค์กร การเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน สถานที่ตั้งของบริษัทหรือ สำนักงานถือเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาในอันดับต้นๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทรับสร้างบ้านนั้นมีที่ตั้งอยู่จริงหากเกิดปัญหา ในการให้บริการหรือปัญหางานก่อสร้างไม่ได้คุณภาพขึ้นมา จะได้สามารถเข้าไปพูดคุยหรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารได้อย่างสะดวก
2. มีผลงาน บริษัทรับสร้างบ้านที่น่าเชื่อถือต้องมีผลงานที่สามารถตรวจสอบ และเปิดเผยให้เข้าไปเยี่ยมชมผลงานได้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ และได้เห็นของจริงมากกว่าการดูโมเดล หรือรูปภาพเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้กลุ่มลูกค้าใหม่ยังสามารถสอบถาม หรือปรึกษากับลูกค้าเดิมที่สร้างบ้านไปแล้วเพื่อขอคำแนะนำได้ว่าที่ผ่านมาการก่อสร้างของบริษัทมีปัญหาด้านใดหรือให้บริการดีอย่างไร เพื่อเป็นการตรวจสอบความมั่นใจอีกครั้งหนึ่งด้วย
3. มีสถาปนิกประจำองค์กร บริษัทรับสร้างบ้านที่ได้มาตรฐานควรมีสถาปนิกประจำในองค์กรนั้นๆ เพื่อสามารถ บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขแบบตามที่ลูกค้าต้องการได้ ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทรับสร้างบ้านหลายๆ บริษัทจะมีสถาปนิกเป็นฝ่ายขาย เรียกกันว่า สถาปนิกขาย สถาปนิกที่ปรึกษาซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลลูกค้าตั้งแต่การออกแบบ ดูแลลูกค้าและประสานงานระหว่างก่อสร้าง หรือควบคุมการก่อสร้างรวมถึงคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ การเลือกวัสดุก่อสร้าง การเลือกใช้โทนสี การตกแต่งภายใน และคำแนะนำในด้านต่างๆ กับลูกค้ากระทั่งส่งมอบบ้าน
4. มีวิศวกรประจำองค์กร เมื่อมีผู้ออกแบบแล้วการสร้างบ้านที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงและโครงสร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนานคุ้มค่ากับเงินลงทุน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีวิศวกรเป็นผู้ออกแบบ คำนวณโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และควบคุมขั้นตอนงานก่อสร้างด้วย เพื่อให้การก่อสร้างได้มาตรฐานตามที่กำหนด ทั้งนี้ตามกฎหมายนั้นวิศวกรถือเป็นวิชาชีพควบคุม ซึ่งผู้ที่จะประกอบอาขีพจะต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบอาชีพโดยมีสภาวิศวกร จะเป็นกำกับดูแลและเป็นผู้ออกบัตรให้ ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นมาก็จะมีกฎหมายมารองรับอย่างชัดเจนสามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ขณะที่บ้านที่ก่อสร้างโดยไม่มีวิศวกรออกแบบคำนวณโครงสร้าง หากเกิดปัญหาขึ้นก็จะไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ปัญหาก็จะมาอยู่กับเจ้าของบ้านเพียงฝ่ายเดียว หากเกิดปัญหาขึ้นมาก็จะมีกฎหมายมารองรับอย่างชัดเจน สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ขณะที่บ้านที่ก่อสร้างโดยไม่มีวิศวกรออกแบบคำนวณโครงสร้างหากเกิดปัญหาขึ้นก็จะไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ปัญหาก็จะมาอยู่กับเจ้าของบ้านเพียงฝ่ายเดียว
5. มีบริการหลังการขาย ปัจจุบันการให้บริการหลังการขายเป็นเรื่องที่สำคัญ เรื่องของบ้านก็เช่นกันเพราะหลังจากการสร้างเสร็จไป แล้วบริษัทรับสร้างบ้านที่ดีจะต้องมีบริการดูแลบำรุง รักษาหรือซ่อมบำรุงหากตรวจสอบพบข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ ของงานก่อสร้างที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งจะต้องมีทีมงานเข้าไปแก้ปัญหาให้
6. มีการรับประกันคุณภาพ บ้านที่สร้างอย่างมีคุณภาพบริษัทรับสร้างบ้านจะต้องมีการรับประกัน ทั้งในส่วนของการรับประกันงานก่อสร้าง และงานโครงสร้างของบ้าน เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ บ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิก วิศวกร และควบคุมงานอย่างถูกขั้นตอนโดยวิศวกร มักจะมีการรับประกันคุณภาพอยู่แล้ว เช่นรับประกันงานก่อสร้าง 1 ปี รับประกันโครงสร้าง 5 ปี เป็นต้น ขณะที่บ้านที่สร้างโดยผู้รับเหมาทั่วไปจะไม่มีการรับประกันใดๆ หากเกิดปัญหาก็ไม่สามารถเรียกร้องจากผู้รับเหมาหรือช่างที่ควบคุมงานได้
7. มีบริการเสริมพิเศษ การก่อสร้างบ้านนอกจากตัวบ้านแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย อาทิ การขออนุญาตก่อสร้าง การขอใช้น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ เลขที่บ้าน จากหน่วยงานภาครัฐ การติดต่อขอใช้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน การให้คำปรึกษาและจัดหาบริษัทตกแต่งภายใน การจัดหา บริษัทรับตกแต่งสวน การจัดหาบริษัททำสระว่ายน้ำ ฯลฯ ซึ่งบริษัทรับสร้างบ้านที่มีความพร้อมจะมีบริการดังกล่าวให้กับลูกค้าด้วยเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และยังถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้ โดยลูกค้าไม่ต้องไปจัดหาเอง
จะเห็นได้ว่า การสร้างบ้านหนึ่งหลังจำเป็นต้องมีองค์ประกอบในการการพิจารณาผู้ที่จะมาสร้างบ้านอยู่หลายส่วนเพื่อให้ได้บ้านที่มีมาตรฐาน ได้รับบริการที่สะดวกแบบครบวงจร และสามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายใจโดยที่ไม่ต้องกังวลกับปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะที่ราคาซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญส่วนหนี่งที่ต้องพิจารณาแต่ไม่ใช่ทั้งหมดควรพิจารณาส่วนอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วยเพื่อวิธีการเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน7 องค์ประกอบหลัก เลือกสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจ (7 มี)
วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประวัติความเป็นมาบ้านเรือนไทย
บ้านไทย หมายถึง บ้านไทยหรือเฉพาะตัวเรือนไทยโบราณภาคกลางสร้างด้วยไม้มีบริเวณ เพราะเรือนไทยสร้างเป็นหลังๆ หรือกลุ่มย่อมมีบริเวณด้วย ทั้งนี้อนุโลมตามภาษาพูดและความเข้าใจ เช่นกล่าวว่า ปลูกบ้านก็หมายถึงปลูกเรือนนั่นเองและคำว่า เรือน ในภาษาพูดไม่ค่อยนิยมใช้มักใช้คำว่า บ้าน แทนเป็นส่วนใหญ่และในบางกรณีพูดว่า มีเรือน หมายถึงหญิงหรือชายได้สมรสเป็นผัวเมียกันแล้วก็ได้ ความหมายคือมีเรือนหอสำหรับพักอาศัยสำหรับครอบครัวเริ่มต้น
เรือนหมู่
คือเรือนปลูกอยู่ในที่เดียวกันมีหลายหลังในระยะต่อมาเมื่อมีความเจริญแล้วอาจมีนอกชานแล่นกลางติดต่อกันได้ตลอด เรือนเหล่านี้หลังหนึ่งเป็นเรือนเดิมซึ่งพ่อแม่อยู่ ส่วนนอกนั้นเป็นเรือนหลังย่อมกว่าเป็นที่อยู่ของบุตรสาวที่มีเรือนไปแล้วจะมีจำนวนกี่หลังก็สุดแล้วแต่จำนวนบุตรสาวซึ่งมีเรือนแล้วไปปลูกเรียงกันถัดเรือนเดิมออกมาทางด้านหน้าทั้งสองข้าง เรือนหลังเดิมเรียกว่าหอกลาง ส่วนเรือนนอกนั้นเรียกหอรี เพราะปลูกไปตามยาวถ้ามีเรือนปลูกอีกหลังหนึ่งเป็นด้านสกัด ก็เรียกว่าหอขวาง ตามปรกติมักกั้นฝาแต่สามด้าน เปิดโล่งไว้แต่ด้านหน้า สำหรับเป็นที่รับแขก ถ้าเรือนหมู่นี้เป็นของคหบดีผู้มั่งคั่งมักมีเรือนโถงปลูกขึ้นหลังหนึ่งที่ตรงกลางชานสำหรับเอาไว้นั่งเล่นหรือใช้เป็นที่เมื่อเวลามีงาน เช่น สวดมนต์เลี้ยงพระ เป็นต้น หอนั่งนั้นไม่จำเป็นจะต้องปลูกอยู่กลางชานเสมอไป จะใช้เรือนหลังไหนซึ่งยังไม่มีคนอยู่และเปิดเป็นห้องโถงใช้เป็นหอนั่งก็ได้นอกจากนี้อาจมีเรือนหลังเล็กๆ สำหรับเลี้ยงนกจะปลูกไว้ตรงไหนก็ได้แล้วแต่จะเห็นเหมาะ เรือนอย่างนี้เรียกว่าหอนก ด้านหลังของหอนั่งมักปลูกเป็นร้านต้นไม้ โดยมากเป็นไม้เถาซึ่งดอกมีกลิ่นหอม
คำว่า บ้าน หมายถึง เรือน ตึก ที่อยู่อาศัย และคำว่าบ้านไทยภาคกลางในที่นี้หมายเฉพาะถึงเรือนแบบไทยมีลักษณะดังนี้คือ สร้างด้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ หลังคาทรงสูง ฝาปะกนหรือฝาลูกฟัก ยกถอดประกอบได้เป็นเรือนชั้นเดียวใต้ถุนสูงและเป็นที่นิยมปลูกสร้างกันในภาคกลางโดยทั่วไปและนิยมปลูกกันริมแม่น้ำริมคลอง เพราะในสมัยโบราณแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางคมนาคมหลักบ้านจึงอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองเพื่อความสะดวกในการเดินทาง
บ้านเรือนไทยสองหลัง
เป็นบ้านเรือนไทยภาคกลางจำลอง ประกอบด้วย เรือนนอนใหญ่ และเรือนครัวทำจากไม้สักทองทั้งหลัง
บ้านเรือนไทยสามหลัง
ป็นบ้านเรือนไทยภาคกลางจำลอง ประกอบด้วย เรือนนอนใหญ่ เรือนนอนเล็กและเรือนครัว ทำจากไม้สักทองทั้งหลัง
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สวนสวยที่อยู่ใน่บริเวณบ้านของเราจะสวยหรือไม่สวยนั้นขึ้นอยู่ที่การมองของแต่ละคน และประโยชน์ใช้สอยของผู้ใช้ บ้านและสวน ของเจ้าของบ้านบางคนต้องการสวนแบบโปร่ง ๆ มีแค่สนามหญ้ากับต้นไม้ที่ให้ร่มเงาสักต้นสองต้น กับเก้าอี้ตัวโปรดไว้นั่งในยามพักผ่อนบางคนชอบแบบธรรมชาติมีต้นไม้ร่มรื่นมุมน้ำตกและธารน้ำไหลไว้นั่งมองเมื่อต้องการผ่อนคลาย
วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเข้าบ้านใหม่
เรื่องการเข้าบ้านใหม่นี่ ถ้าเป็นคนสมัยใหม่หน่อย ก็ต้องบอกว่า เอาฤกษ์สะดวกที่จะย้ายเข้า และสะดวกกับเจ้าบ้าน ก็พอแล้ว แต่ถ้าเรายังเคารพศรัทธาธรรมเนียมโบราณ ก็ควรทำพิธีแบบง่ายก็พอ ซึ่งก็เป็นการทำพิธีแบบง่ายๆของการขึ้นบ้านใหม่นั่นเอง เป็นเรื่องที่ชาวพุทธมักจะทำเพื่อเป็นสิริมงคล โดยการทำแบบพอเป็นพิธีนั้น เมื่อได้ฤกษ์ยามดีที่หาไว้ หัวหน้าครอบครัวก็อัญเชิญพระพุทธรูปประจำบ้าน ไปประดิษฐานไว้ที่บูชา จุดธูปเทียนบูชา อธิษฐานขอคุณพระคุ้มครองให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข หรือจะนิมนต์พระสักรูปหนึ่ง มาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ตามห้องต่างๆ ก่อนขนของเข้าไปอยู่ ก็จะสมบรูณ์ยิ่งขึ้น เพียงแค่นี้ก็ถือว่า เสร็จพิธีแล้ว หรือหากมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ใกล้ๆบ้าน (เจ้าที่ใหญ่) ให้ไปไหว้แสดงความเคารพ และขอพรให้ท่านคุ้มครองดูแลให้มีความสุขความเจริญและให้ทำบุญสังฆทาน และอุทิศบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของครอบครัว เจ้าที่ และวิญญาณที่อาศัยอยู่ในสถานนั้นด้วยก็ได้
วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเลือกสถานที่เพื่อปลูกบ้าน
หลักเคหะศาสตร์ในการเลือกสถานที่เพื่อปลูกสร้างบ้านนั้น เป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณแล้วครับ ว่าบ้านของบรรดาคนรักบ้านที่อยู่ดีมีความสุขทั้งเจ้าของบ้านและสมาชิกผู้อยู่อาศัยในบ้านนั้น ต้องเริ่มมาจากการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีเรื่องให้เดือดเนื้อร้อนใจต้องย้ายกันภายหลัง ซึ่งตามหลักเคหะศาสตร์ในการเลือกสถานที่เพื่อปลูกสร้างบ้านโดยทั่วไปแล้วมีหลักการกว้าง ๆ ดังนี้ครับ
บริเวณผืนดินที่มีหญ้าขึ้นปกคลุมเขียวชอุ่มไปทั่วทั้งบริเวณโดยไม่มีจุดแหว่งหรือจุดด่างพร้อยแสดงว่าเป็นพื้นที่ที่ดี จะส่งเสริมให้ชีวิตครอบครัวของคนรักบ้านมีแต่สิ่งดี ๆ มีกำลังกายกำลังใจในการประกอบสัมมาอาชีวะเพราะเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ครับ
บริเวณผืนดินที่มีก้อนหินรูปร่างประหลาด ๆ อยู่ด้วย จะนำมาซึ่งความเดือดร้อน อยู่ไปก็ไม่มีความสุข มีแต่เรื่องเสียหายวุ่นวายใจครับ
บริเวณผืนดินที่มีก้อนหินใหญ่ ๆ และก้อนหินที่ถูกน้ำเซาะจนเกลี้ยง วางอยู่เกลื่อนกลาด ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย มักจะทำให้เจ้าของบ้านต้องประสบกับความโชคร้ายอยู่เสมอ และยังมีเรื่องน่าอับอายของครอบครัวเกิดขึ้นให้ต้องปวดหัวอยู่บ่อย ๆ ครับ แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยการปลูกต้นไม้ประเภทต่างๆ ที่เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น เพื่อให้ช่วยบดบังทัศนียภาพที่ไม่ดีเหล่านั้น ก็จะสามารถแก้เคล็ดทำให้บ้านอยู่เย็นเป็นสุขมากยิ่งขึ้น
บริเวณผืนดินที่มีก้อนหินใหญ่ ๆ และก้อนหินที่ถูกน้ำเซาะจนเกลี้ยง วางอยู่เกลื่อนกลาด ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย มักจะทำให้เจ้าของบ้านต้องประสบกับความโชคร้ายอยู่เสมอ และยังมีเรื่องน่าอับอายของครอบครัวเกิดขึ้นให้ต้องปวดหัวอยู่บ่อย ๆ ครับ แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยการปลูกต้นไม้ประเภทต่างๆ ที่เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น เพื่อให้ช่วยบดบังทัศนียภาพที่ไม่ดีเหล่านั้น ก็จะสามารถแก้เคล็ดทำให้บ้านอยู่เย็นเป็นสุขมากยิ่งขึ้น
บริเวณผืนดินที่โอบล้อมไปด้วยภูเขา จะทำให้สามารถรักษาพลังความสุขแห่งการดำเนินชีวิตและช่วยโอบอุ้มครอบครัวให้อบอุ่นอยู่เสมอ บริเวณผืนดินที่มีสายน้ำประกอบอยู่โดยทั่วไปมักจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แต่ถ้าสายน้ำที่มีลักษณะอยู่ในลักษณะของการไหลพุ่งตรงออกไปอย่างแรง จะถือว่าพลังแห่งการดำเนินชีวิตกำลังไหลออกไปจากตัวบ้าน ลักษณะดังกล่าวก็ไม่ใคร่จะดีครับเพราะความตั้งใจต่างๆ ในการก่อร่างสร้างอนาคตก็จะไหลออกไปพร้อมกับกระแสน้ำด้วยครับ
สรุปหลักการเลือกผืนดินในการสร้างบ้านประเด็นสุดท้าย ก็คือ บริเวณที่มีสายน้ำอยู่ใกล้ ๆ ไหลคดเคี้ยวไปมา จะทำให้บ้านและสมาชิกในครอบครัวประสบความสำเร็จทั้งหน้าที่การงานและการดำเนินชีวิต แต่ในทางกลับกัน บริเวณที่มีสายน้ำในลักษณะทอดยาวเป็นเส้นตรงจนเกินไปทำให้น้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็วและรุนแรง อย่างคลองส่งน้ำตามเขื่อนกั้นน้ำ โดยไม่มีการเลี้ยวลด คดเคี้ยวบ้างนั้น ก็จะทำให้เกิดโทษมากกว่าคุณครับ เพราะว่า ลักษณะการไหลของกระแสน้ำที่ไหลบ่าอย่างรุนแรงและรวดเร็วนั้นนอกจากอาจจะทำให้เกิดอันตรายจากกระแสน้ำแล้วโดยหลักทางเคหะศาสตร์ยังเชื่อว่าอาจจะทำให้ทรัพย์สมบัติไหลออกไปจากบ้านและกระจัดกระจายไปกับกระแสน้ำด้วยครับ
วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
รู้จักบ้านดิน
บ้านดิน คือบ้านธรรมชาติ บ้านที่สามารถหาวัสดุจากรอบข้างนำมาสร้างเป็นบ้าน บ้านหนึ่งหลังอาจใข้ดินที่อยู่ข้างบ้านกับกับแรงกาย ค่อย ๆ ลงแรงสร้างจนกลายเป็นบ้านคุณภาพ โดยใช้ทุนเพียงเล็กน้อยบ้านดิน ต้องใช้แรงงานในการสร้างมาก ถึงแม้จะใช้ต้นทุนในการสร้างต่ำ บ้านดินจึงเหมาะสำหรับการลงแรงช่วยกันสร้าง อาจใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุด มาช่วยกันสร้าง สร้างบ้านดิน 1 หลัง มีคุณค่ามากกว่าบ้าน 1 หลัง บ้านอาจจะหมายถึง มิตรภาพ, สุขภาพ, ความภูมิใจ ปลดปล่อยการเป็นทาสจากของเงินตราที่เราต้องถูกหลอกชั่วชีวิตให้ทำงานอย่าง หามรุ่งหามค่ำ บ้านดินใช้ทุนน้อย แต่คุณค่ามากมายจนไม่สามารถประเมินค่าได้
บ้านดิน คือนิยามของความสุข หนึ่งชีวิตหากต้องการมีบ้านสักหลังหนึ่งอาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิตเพื่อหาเงิน หรือใช้หนี้ ซึ่งแตกต่างจากการสร้างบ้านธรรมชาติหรือบ้านดินโดยสิ้นเชิง แค่แรงกายกับเงินอีกเพียงเล็กน้อย ในระยะเวลาไม่กี่เดือน เราสามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้แล้ว
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
10 วิธีคืนความใสให้ดวงตาของบ้าน
1. เลือกเช็ดเวลาดี ไม่มีคราบไม่ควรเช็ดทำความสะอาดกระจกตอนที่พระอาทิตย์กำลังส่องแสงแรงกล้าตรงมายังกระจกเพราะน้ำยาเช็ดกระจกจะแห้งเร็วเกินกว่าที่ผ้าจะดูดเอาคราบและฝุ่นผงออกจากกระจกได้ทัน
1. เลือกเช็ดเวลาดี ไม่มีคราบไม่ควรเช็ดทำความสะอาดกระจกตอนที่พระอาทิตย์กำลังส่องแสงแรงกล้าตรงมายังกระจกเพราะน้ำยาเช็ดกระจกจะแห้งเร็วเกินกว่าที่ผ้าจะดูดเอาคราบและฝุ่นผงออกจากกระจกได้ทัน
2. ใช้ผ้าไร้ขน ได้ผลดีที่สุดควรเลือกใช้ควรเป็นผ้านุ่มๆ เช่นผ้าฝ้าย ผ้าชามัวร์ หรือผ้าจากเสื้อยืดคอกลมที่ทิ้งแล้วหรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ขยำแล้วเช็ดก็ได้ โดยใช้น้ำธรรมดา หรือน้ำยาเช็ดกระจก
3. จะเช็ดทางไหน เลือกเอาสักทางควรทำความสะอาดกรอบและโครงเสียก่อนจึงทำการเช็ดกระจกในทิศทางขึ้น-ลงด้านหนึ่ง ขณะที่เช็ดอีกด้านตามแนวซ้าย-ขวา เพื่อให้สามารถมองเห็นร่องรอยคราบที่เหลืออยและควรเลือกเช็ดไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่น้ำยาจะได้ถูกไล่ไปในทางเดียวกัน
4. หมั่นตรวจหารอยรั่วอยู่เสมอรอยรั่วเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความร้อนเล็ดลอดเข้ามาภายในอาคารเพราะฉะนั้นจึงควรหมั่นตรวจสอบรอยรั่วตามขอบหน้าต่างกระจกทุกปีไม่ว่าหน้าต่างนั้นจะทำด้วยวัสดุที่เป็นไม้ หรือกระจกก็ตาม เพื่อให้หน้าต่างคงสภาพดีอยู่เสมอ5. หน้าต่างฝืดถ้าเมื่อไรที่หน้าต่างเกิดอาการฝืดแล้วล่ะก็ให้หากระดาษคาร์บอนมาทดสอบอาการด้วยการวางระหว่างกรอบและวงกบ แล้วลองออกแรงเปิดดูหากพบรอยคราบคาร์บอนติดอยู่ที่หน้าต่าง แสดงว่านั่นคือส่วนที่ก่อให้เกิดการฝืดขึ้นกับหน้าต่างหลังจากนั้นให้เปลี่ยนมาใช้กระดาษทรายหรือเทียนไขขัดๆ ถูๆ จุดที่ฝืดแล้วทาสีทับก็เสร็จเรียบร้อย
6. ขจัดปัญหาขอบหน้าต่างชื้นความชื้นคือตัวการที่ทำให้ไม้ขยายหรือหดตัวซึ่งจะเกิดขึ้นในหน้าฝนและหน้าหนาวมากกว่าหน้าร้อนส่งผลให้หน้าต่างฝืดมากขึ้นกว่าเดิมซึ่งคราวนี้ให้ลองรักษาอาการฝืดด้วยการใช้กบไสไม้ออกสัก
7. ทาสีใหม่ ให้ถูกวิธีหากชอบทาสีให้กับหน้าต่างเพื่อสร้างบรรยากาศใหม่ๆควรระวังอย่าทาสีทับซ้ำกันเพราะอาจทำให้หน้าต่างฝืด วิธีแก้อย่างง่ายๆ คือให้ขูดลอกสีเก่าบริเวณที่ผิวหน้าต่างสัมผัสกันในการเปิดปิดออกแล้วจึงทาสีที่ต้องการลงไป รอให้สีแห้งแล้วลองปิดดู
8. ควบคุมอุณหภูมิ คุ้มครองหน้าต่างอุณภูมิภายในและภายนอกห้องที่แตกต่างกันมีผลต่อกระจกหากภายในห้องเปิดเครื่องปรับอาการโดยให้ลมเย็นมากระทบผิวหน้ากระจกโดยตรงเป็นเวลานานๆจะก่อให้เกิดการแตกร้าวของกระจกได้
9. รักษากระจกไว้ ไม่ให้แตกร้าวไม่ควรทาสี ติดกระดาษ ติดผ้าม่านหนาหรือวางตู้ทึบมิดชิดบริเวณกระจก เพราะจะทำให้เกิดการสะสมความร้อนในเนื้อกระจกทำให้กระจกแตกร้าวได้ง่าย ทางที่ดีควรปล่อยให้บริเวณกระจกโปร่งโล่งให้มากที่สุดแต่ถ้าจำเป็นต้องวางตู้ตรงจุดนั้น ก็ให้วางห่างจากกระจกอย่างน้อย
10. ดูทิศทางให้ดี ก่อนติดตั้งหน้าต่างส่วนใหญ่จะอยู่ในทิศทางที่รับแสงอาทิตย์โดยตรงจึงเป็นช่องทางรับความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างดี ดังนั้นควรเลือกใช้กระจกเขียวตัดแสง เพื่อลดความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่มาตกกระทบและยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
ควรหมั่นคอยดูแลหน้าต่างบ้านทุกบานให้คงความสะอาดใสอยู่เสมอเพราะนอกจากจะทำให้บ้านน่ามองแล้ว ยังส่งผลให้สมาชิกทุกคนในบ้านเกิดความสบายตาสบายใจไปด้วย
ควรหมั่นคอยดูแลหน้าต่างบ้านทุกบานให้คงความสะอาดใสอยู่เสมอเพราะนอกจากจะทำให้บ้านน่ามองแล้ว ยังส่งผลให้สมาชิกทุกคนในบ้านเกิดความสบายตาสบายใจไปด้วย
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สีทาผนังบ้าน
สำหรับผนังปูน ก็จะนิยมใช้สีน้ำพลาสติกที่มีส่วนผสมของอะคลีลิค 100% หรือที่เราเรียกกันว่า สีน้ำอะคลีลิค นั่นเอง มีทั้งชนิด ด้าน และแบบ กึ่งเงาสีด้าน จะดูสะอาด กระจ่างแต่ไม่กระจายแสง สีนวลใสแต่จะสกปรกง่ายสีกึ่งเงา จะดูนวลเมื่อโดนแสงไฟหรือแสงแดด เช้ดทำความสะอาดได้ เงาเล็กน้อย ลูบดูจะลื่นมือ ฝุ่นจะไม่ค่อยจับผนัง
สำหรับผนังปูน ก็จะนิยมใช้สีน้ำพลาสติกที่มีส่วนผสมของอะคลีลิค 100% หรือที่เราเรียกกันว่า สีน้ำอะคลีลิค นั่นเอง มีทั้งชนิด ด้าน และแบบ กึ่งเงาสีด้าน จะดูสะอาด กระจ่างแต่ไม่กระจายแสง สีนวลใสแต่จะสกปรกง่ายสีกึ่งเงา จะดูนวลเมื่อโดนแสงไฟหรือแสงแดด เช้ดทำความสะอาดได้ เงาเล็กน้อย ลูบดูจะลื่นมือ ฝุ่นจะไม่ค่อยจับผนัง
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
โรงแรมแนว บูติดโฮเทลชุดที่สอง ครับ ดีซายน์แบบเท่ๆกันอีกเหมือนเดิมสำหรับภาพชุด Boutique hotel ชุดนี้ ลักษณะเฉพาะของโรงแรมสไตล์นี้ ส่วนใหญ่จะเห็นได้ในประเทศญี่ปุ่นครับ ที่เรียกว่า love hotel เป็นโรงแรมสำหรับภารกิจลับโดยเฉพาะ ขายห้องเป็นชั่วโมงเท่านั้นสามารถเลือแบบห้องตามความพอใจ และส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อแบบหยอดเหรีญ ซึ่งการเข้าใช้งานสะดวก รวดเร็วมาก
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บ้านคือวิมานของเรา
เคล็ด(ไม่)ลับวิธีเลือกซื้อบ้าน
ประหยัดพลังงานบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่จะเน้นการออกแบบให้เป็นบ้านมีความเย็นและอยู่สบายโดยวิถีทางธรรมชาติ(Passive Coolion) เป็นหลัก ขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับเรื่องการออกแบบและการเตรียมการสำหรับทำให้เกิดความเย็นด้วนวิธีกลไกและพึ่งพาเทคโนโลยี (Active Cooling) อันสอดคล้องกับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบันเพื่อเป็นส่วนประกอบที่ผสมผสานกัน โดยก่อให้เกิดทางเลือกในการประหยัดพลังงานด้วย
วิธีการที่มุ่งเน้นคือ การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมรวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร โดยมีวิธีที่จะช่วยให้คุณเลือกซื้อบ้านหรือจะสร้างบ้านให้ถูกใจ มีดังนี้
วิธีแรก อย่าใส่แหล่งความร้อน(ลานคอนกรีต)ในบ้าน คือ ไม่ควรออกแบบลานพื้นคอนกรีตจอดรถยนต์ในทิศทางรับแสงแดด เช่น ทิศใต้ ทิศตะวันตก เนื่องจากวัสดุดังกล่าวจะกลายเป็น มวลสารสะสมความร้อน คือ การสะสมความร้อนไว้ในเวลากลางวันในปริมาณมาก เนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุ จะถ่ายเทความร้อนกลับสู่ตัวบ้านในเวลากลางคืน ทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านและตัวบ้านมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย ซึ่งอาจใช้วัสดุอื่นทดแทนคอนกรีต
วิธีที่สอง รั้วบ้าน...ต้องโล่ง.... โปร่ง.... สบาย การทำรั้วบ้านของแต่จะหลังหรือแต่ละโครงการจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ซื้อต้องสังเกตและใส่ใจว่าบ้านที่ซื้อนั้นรั้วบ้านเป็นอย่างไร ซึ่งรั้วบ้านก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนกันที่จะช่วยให้บ้านเย็น โดยรั้วบ้านต้องไม่ทึบตัน ควรออกแบบรั้วให้มีลักษณะโปร่งลม เนื่องจากผนังรั้วทึบจะกีดขวางการเคลื่อนที่ของลมเข้าสู่ตัวบ้านทำให้พื้นที่ภายในบ้านอับลม นอกจากนี้ วัสดุที่ใช้ทำรั้ว เช่น อิฐมอญ คอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตบล็อก ยังมีคุณสมบัติสะสมความร้อนไว้ในตัวเองเวลากลางวันและจะถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านในเวลากลางคืนเป็นต้น
วิธีที่สาม อย่าลืม!!! ต้นไม้ให้ร่มเงา การปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน นอกจากจะช่วยสร้างความร่มรื่นและความสดชื่นสบายตาสบายใจแก่ผู้อาศัยในบ้านแล้ว ใบไม้รูปทรงหลากสีสันที่แผ่กิ่งก้านสาขาในพื้นที่บริเวณบ้านยังสามารถลดแสงแดดที่ตกกระทบมายังตัวบ้าน และให้ร่มเงาที่ร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้นไม้ ใบหญ้า ทั้งหลายที่มีประสิทธิภาพช่วยลดความร้อนที่อยู่ในสภาพแวดล้อม แต่มีข้อระวังคือ การปลูกต้นไม้ใหญ่ใกล้บ้านเกินไปต้องระวังรากของต้นไม้ใหญ่จะสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างของบ้านดังนั้นควรดูความเหมาะสมของชนิดต้นไม้ด้วย
วิธีที่สี่ ก่อนสร้าง อย่าลืม!! พื้นชั้นล่างปูแผ่นพลาสติก บ้านพักอาศัยทั่วไปในปัจจุบันนี้ทั้งชั้นล่างและชั้นบนมักติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ความเย็นและลดความชื้นภายในพื้นที่กันเป็นจำนวนมาก การเตรียมการก่อสร้างในส่วนโครงสร้างพื้นชั้นล่างควรปูแผ่นพลาสติกเพื่อป้องกันความชื้นที่สามารถระเหยขึ้นมาจากผิวดิน เป็นผลให้ให้มีการสะสมความชื้นภายในพื้นที่ห้องชั้นล่างของตัวบ้านและเป็นที่มาของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นในที่สุด
วิธีที่ห้า ควรหันบ้านให้ถูกทิศ (ลม-แดด-ฝน) จิตแจ่มใส ซึ่งการออกแบบ้านเรือนในประเทศไทย ไม่ควรหลงลืมปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน เพราะประเทศไทยจะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ทางทิศใต้(อ้อมใต้)เป็นเวลา 8-9 เดือน และมีมุมแดดต่ำทำให้ความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ง่ายขึ้น กันแสงแดดได้ยาก จึงทำให้ทิศตะวันตกและทิศใต้มีอิทธิพลจากแสงแดดรุนแรงเกือบตลอดทั้งปี การวางตำแหน่งบ้านและการออกแบบรูปทรงบ้านที่ดีต้องหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดในทิศทางดังกล่าว นอกจากนี้การวางผังบ้านและช่องหน้าต่างจึงต้องคำนึกถึงทิศทางกระแสลมด้วย แต่หากพื้นที่ทางเข้าออกของบ้านกับถนนจำเป็นต้องสร้างบ้านที่รับแดดในทิศทางดังกล่าวก็มีทางแก้โดยการติดตั้งกันสาดหรือต้นไม้ที่เหมาะสมก็ได้
วิธีที่หก การมีครัวไทยต้องไม่เชื่อมติดกับตัวบ้าน เพราะการทำครัวไทย นอกจากจะได้อาหารที่มีรสเผ็ดร้อนถูกปากคนไทยแล้ว ยังก่อให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวในปริมาณที่มากอีกด้วย อันเนื่องมาจากอุปกรณ์และกิจกรรมการทำครัวต่างๆซึ่งแตกต่างจากครัวฝรั่งโดยสิ้นเชิง ความร้อนที่เกิดขึ้นในห้องครัวที่ติดกับตัวบ้านจะสามารถถ่ายเทเข้าสู่พื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็วในลักษณะ สะพานความร้อน และกรณีห้องที่ติดกันเป็นพื้นที่ปรับอากาศจะยังสิ้นเปลืองพลังงานในการทำความเย็นของห้องดังกล่าวมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้น การออกแบบบ้านควรให้ครัวไทยแยกห่างจากตัวบ้าน
วิธีที่เจ็ด ประตูหน้าต่างต้องมีทางลมเข้าออก การระบายความร้อนภายในบ้านโดยใช้ลมธรรมชาติ ต้องมีช่องทางลมเข้าออก มิฉะนั้น ลมจะไม่สามารถไหลผ่านในตัวบ้านได้ การวางตำแหน่งช่องหน้าต่างนั้นต้องตอบรับทิศทางการเคลื่อนที่ของลมประจำด้วย แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าลมที่นำเข้าสู่อาคารต้องทำให้ลมเย็นเสียก่อน ในการออกแบบให้ลมไหลผ่านตัวบ้านได้ดีนั้น มีข้อระวัง ได้แก่ ต้องติดตั้งมุ้งลวดเพื่อกรองฝุ่นละอองเกสรที่จะเข้าบ้านและการติดช่องหน้าต่างในตำแหน่งเยื้องกันจะช่วยบังคับให้ลมไหลผ่านห้องต่างๆตามตำแหน่งที่ต้องการได้
วิธีที่แปด ผังเฟอร์นิเจอร์ต้องเตรียมไว้ก่อนไม่ร้อนและประหยัดพลังงาน บ้านจัดสรรที่ดีควรมีการจัดวางผังเฟอร์นิเจอร์ในแต่ละห้อง แต่ละพื้นที่ในบ้านเพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมตำแหน่งติดตั้งเต้ารับหรือสวิตช์ไว้ล่วงหน้า และเพียงพอสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้าน นอกจากนี้ การวางตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ล่วงหน้าจะได้บอกว่า ภายในห้องของบ้านมีจุดใดที่มีการกีดขวางการเคลื่อนที่ของกระแสลมหรือไม่และควรแก้ไขอย่างไร ซึ่งควรแยกอุปกรณ์ที่จะสร้างความร้อนนอกห้องปรับอากาศ เช่น ตู้เย็น เครื่องต้มน้ำ
วิธีที่เก้า อย่า!!! มีบ่อน้ำหรือน้ำพุในห้องปรับอากาศ คุณสมบัติทางอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ คือการลดอุณหภูมิและความชื้น ทำให้พื้นที่ห้องต่างๆอยู่ในภาวะที่สบาย ซึ่งการตกแต่งประดับพื้นที่ภายในห้องด้วยน้ำพุ น้ำตก อ่างเลี้ยงปลา หรือแจกันดอกไม้และทำให้เครื่องปรับอากาศต้องใช้พลังงานในการลดความชื้นมากกว่าปกติ
วิธีที่สิบ ช่องระบายอากาศที่หลังคาพาคลายร้อน..... หลังคาที่ดีนั้นนอกจากจะสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้ ยังต้องมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกด้วย ภายในช่องว่างใต้หลังคาเป็นพื้นที่กักเก็บความร้อนที่แผ่รังสีมาจากแสงแดด ก่อนจะถ่ายเทเข้าสู่พื้นที่ในส่วนต่างๆภายในบ้าน ดังนั้น การออกแบบให้มีการระบายอากาศภายในหลังคาออกไปสู่ภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องลมบริเวณจั่วหลังคาหรือระแนงชายคา จึงเป็นเรื่องที่ดีต่อการลดความร้อน แต่มีข้อระวังคือ ต้องมีการติดตั้งตาข่ายป้องกันนก แมลง เข้าไปทำรังใต้หลังคาด้วยและต้องมีการป้องกันฝนเข้าช่องเปิดระบายอากาศด้วย
วิธีที่สิบเอ็ด ต้องใส่ “ฉนวน” ที่หลังคาเสมอ ฉนวนกันความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่สามารถกั้นหรือป้องกันความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงแดดไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผนังหรือหลังคาบ้าน แต่ช่องทางที่ความร้อนจากแสงแดดถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้มากสุดในเวลากลางวัน คือ พื้นที่หลังคา ดังนั้น การลดความร้อนจากพื้นที่ดังกล่าว ด้วยการใช้ฉนวนซึ่งมีรูปแบบและการติดตั้งที่เหมาะสมกับพื้นที่ สอดคล้องกับการใช้งาน จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการลดการใช้พลังงานภายในบ้าน
วิธีที่สิบสอง กันแดดดีต้องมีชายคา กัดสาดหรือชายคาบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับอาคารบ้านเรือนในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย เนื่องจากมีคุณสมบัติการป้องกันแสงแดด(ความร้อน)ไม่ให้ตกกระทบผนังทึบและส่องผ่านสู่เข้าหน้าต่าง นอกจากนี้ ตำแหน่งทิศทางการติดตั้งกันสาดมีความจำเป็นมาก คือ ด้านที่มีอิทธิพลจากแสงแดดที่รุนแรง ได้แก่ ทิศใต้และทิศตะวันตกและข้อดีอีกประการหนึ่งคือ กันสาดหรือชายคายังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการป้องกันฝนอีกด้วย
วิธีที่สิบสาม ห้องไหนๆติดเครื่องปรับอากาศ อย่างลืมติดฉนวน... การลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญ คือ การลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านและพื้นที่ใช้งานใดๆ ดังนั้น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนในพื้นที่บ้านที่มีเครื่องปรับอากาศเพื่อลดความร้อน นอกจากจะทำให้ห้องเย็นสบาย ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านและสามารถปรับอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วแล้ว ยังช่ายลดค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศได้
วิธีที่สิบสี่ บานเกล็ด บานเปิด บานเลื่อน ต้องใช้ให้เหมาะสม หน้าต่างแต่ละชนิดที่มีคุณสมบัติในการใช้สอยที่แตกต่างกันตามความต้องการ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้อง หน้าต่างบานเปิดมีประสิทธิภาพในการรับกระแสลมสูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ต้องจัดวางให้สอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของกระแสลมด้วย
วิธีที่สิบห้า ทาสีผนังให้ใช้สีอ่อน ไม่ร้อนดี แต่ถ้าเปลี่ยนสี(เข้ม)ต้องมีฉนวน สีผนังมีผลต่อการสะท้อนของแสงแดดและความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารมากน้อยต่างกัน สีอ่อนจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดดและถ่ายเทความร้อนเข้าภายในบ้านได้ดีกว่าสีเข้มตามลำดับความเข้มของสีผนังภายนอกที่สัมผัสแสงแดดจึงควรเลือกใช้สีโทนอ่อน เช่น ขาว ครีม เป็นต้น ในทางกลับกัน หากต้องการทาสีผนังภายนอกบ้านเป็นสีเข้ม ต้องมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนในบริเวณนั้นเพื่อเป็นการชดเชย นอกจากสีภายนอกอาคารแล้ว การทาสีภายในอาคารด้วยสีอ่อนจะช่วยสะท้อนแสงสว่างภายในห้อง เพิ่มความสว่างภายในบ้านทำให้ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้โคมไฟจำนวนมากเกินไป
วิธีที่สิบหก ห้องติดเครื่องปรับอากาศต้องไม่ไร้บังใบประตูหน้าต่าง ความชื้นในอากาศที่รั่วซึมเข้าภายในอาคารบ้านเรือน เป็นสาเหตุของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการป้องกันปัญหาด้วยการออกแบบที่กระทำได้ไม่ลำบาก คือ การเลือกใช้ประตู และหน้าต่างของห้องภายในบ้านที่มีการบังใบวงกบ เพื่อลดการรั่วซึมของอากาศจากภายนอกสู่พื้นที่ภายใน กรณีบานหน้าต่างสามารถซื้อแผ่นพลาสติกปิดช่องอากาศรั่วมาติดเพิ่มเติมได้ในภายหลัง โดยควรเลือกชนิดพลาสติกจะทำความสะอาดและกันลมรั่วได้ดีกว่าแบบฝ้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)